วิชา POL2100 การเมืองการปกครองในประเทศอิตาลี
โดย อ.ดร.กฤติธี ศรีเกตุ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ข้อสอบอยู่ในคำบรรยายนี้ทั้งหมด โปรดอ่านและทำความเข้าใจให้ดี
-------------------------
สภาพทั่วไปของอิตาลี
- พื้นที่ของประเทศอิตาลี แบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่
- ส่วนแรก เป็นบริเวณต่อเนื่องกับทวีปยุโรป
- ส่วนที่สอง เป็นบริเวณแหลมอิตาลี
- ส่วนที่สาม เป็นบริเวณตอนใต้และชายฝั่งตะวันตก
- สภาพภูมิศาสตร์อิตาลี มีลักษณะที่แยกกันเป็นสองส่วนที่มีความต่างในแง่ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคม
ประวัติศาสตร์อิตาลี
- อิตาลีเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกเก่าแก่แห่งหนึ่ง แต่ในฐานะรัฐอิตาลีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 20 นี้เอง ความเจริญทางอารยธรรมจึงไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์กับความเป็นชาติอิตาลีที่เพิ่งเกิดขึ้น
- การรวมตัวของอิตาลีเกิดขึ้นในท่ามกลางความแตกต่างภายในประเทศอย่างมาก ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ทัศนคติ
- ระบบสาธารณรัฐของอิตาลีปัจจุบันเปลี่ยนแนวทางการรวมอำนาจระดับสูงซึ่งเป็นแนวทางที่รับมาจากระบบของนโปเลียน มาสู่การฟิ้นฟูการกระจายอำนาจสูงในระดับเขตแขวง
ประวัติศาสตร์อิตาลีแบ่งเป็น 9 ยุค
1. ยุคกลาง (ศตวรรษ 6-9)
2. ยุคนครรัฐ (ศตวรรษ 10-14)
3. ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (คศ. 1400-1560)
4. การรวมอยู่ในอาณาจักรสเปน (คศ. 1560-1713)
5. การปูพื้นฐานความคิดใหม่ (คศ. 1714-1815)
6. ยุค Risorgimento และการรวมตัวเป็นเอกภาพ(คศ. 1815-1870)
7. การเข้าสู่ยุคฟาสซิสต์ (คศ. 1870-1922)
8. สมัยฟาสซิสต์ (คศ. 1922-1945)
9. การเป็นสาธารณรัฐปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญอิตาลี
- ผลจากสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้อิตาลีมีสภาพไม่ต่างจากประเทศเกิดใหม่ ที่ต้องเริ่มต้นปรับตัวไปเป็นประชาธิปไตยอย่างล่าช้า
- ในช่วงปี 1944 มีการประกาศใช้รัฐธรรมชั่วคราว ให้มีการเลือกตั้งรัฐสภาแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะมีขึ้น กำหนดให้มีวุฒสภามาจากการแต่งตั้ง เป็นเหมือนที่ปรึกษาดูแลการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา และการลงประชามติว่าจะเลือกระบอบกษัตริย์หรือสาธารณรัฐ (ประชาชนเลือกสาธารณรัฐ)
- ปี 1946 ประกาศใช้รัฐธรรมชั่วคราวฉบับที่ 2
- มีการนำร่างรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาปลายปี 1947 และประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม 1948
โครงสร้างรัฐธรรมนูญอิตาลี
- รัฐธรรมนูญฉบับ 1947 ประกอบด้วย 138 มาตรา มีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ ว่าด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง และว่าด้วยกฎหมายแห่งสาธารณรัฐ เน้นการแบ่งแยกอำนาจและกระจายอำนาจ
- รัฐสภา เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดทั้งในทางนิติบัญญัติและการควบคุมองค์กรอื่นๆ เป็นระบบสองสภาที่มีฐานะเท่าเทียมกันทางกฎหมาย มาจากการเลือกตั้งโดยตรง (วาระ 5 ปี) สมาชิกวุฒิสภาบางส่วนมาจากการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต
- การพิจารณาร่างกฎหมายต้องได้รับการพิจารณาจากทั้งสองสภา สภาใดก่อนก็ได้ แล้วส่งไปยังประธานาธิบดี ในภาวะเร่งด่วน สภามักมอบหมายให้รัฐบาลใช้อำนาจนิติบัญญัติได้ชั่วคราว
- รัฐสภาควบคุมรัฐบาลโดยการตั้งกระทู้ถาม หรือตั้งคณะกรรมาธิการเป็นรายกรณีเพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
- อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ประธานาธิบดีและรัฐบาลอิตาลี
- อำนาจบริหารเป็นอำนาจของประธานาธิบดีและคณะรัฐบาล
- ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง มีฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐในระบบรัฐสภา มีวาระ 7 ปี มีสิทธิรับเลือกใหม่ได้
- ประธานาธิบดีไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในทางการเมืองโดยตรง มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีซึ่งถูกเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งตำแหน่งสำคัญของรัฐ เช่น วุฒิสมาชิกกิตติมศักดิ์ ข้าราชการบางระดับ และตุลาการรัฐธรรมนูญ
- ประธานาธิบดีเป็นจอมทัพสูงสุด ลงนามรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ประกาศสงคราม ประธานคณะรัฐมนตรีและสถาบันสำคัญ ฯลฯ
- ประธานาธิบดีอาจยุบสภาใดหรือทั้งสองสภาได้ แต่ต้องได้รับการลงนามรับรองโดยคณะรัฐมนตรี
- ประธานาธิบดีเป็นเหมือนตุลาการและเป็นผู้ชี้ขาดการแต่งตั้งคณะรัฐบาล
- รัฐธรรมนูญเน้นความสำคัญของรัฐบาลมากกว่าเมื่อเทียบกับอำนาจของประธานาธิบดี
- โครงสร้างของคณะรัฐบาลมีองค์ประกอบสามฝ่าย คือ นายกรัฐมนตรี (เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร) รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรอำนาจรัฐส่วนต่างๆ
- รัฐบาลรับผิดชอบต่อรัฐสภา
- ประธานาธิบดียุบสภาทั้งสองได้
- รัฐบาลใหม่ที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ต้องขอความไว้วางใจจากที่ประชุมทั้งสองสภา ภายใน 10 วัน
- ประธานสภาแต่ละสภาเป็นผู้ขอให้คณะรัฐบาลแถลงนโยบายและชี้แจงข้อซักถาม ต่อการประชุมสภาทั้งสองสภา
- การเพิกถอนความไว้วางใจมีขึ้นได้ตลอดเวลา โดยการมีมติไม่ไว้วางใจ มีการขอต่ออายุความไว้วางใจ มีการลงมติไม่รับร่างกฎหมาย
การปกครองท้องถิ่นของอิตาลี
- แบ่งเป็นระดับเขตแขวงพิเศษ 5 แห่ง มีสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งฝ่ายบริหาร มีแขวงอื่นๆ อีก 15 แห่ง ไม่มีสภาท้องถิ่น มีผู้ว่าราชการตัวแทนส่วนกลาง
- มีจังหวัด 92 แห่ง มีสภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งฝ่ายบริหาร
- มีสภาระดับคอมมูน มาจากการเลือกตั้ง
สภาวะการเมืองในอิตาลี
- ลักษณะสำคัญของระบบการเมืองอิตาลีคือ ระบบการเมืองหลายพรรค รัฐบาลผสมที่อ่อนแอ
- การดำเนินระบบรัฐสภาอิตาลีนับตั้งแต่การรวมอิตาลี
- สภาพการไม่มีองค์กรพรรคการเมือง การจัดตั้งและการแบ่งแยกของพรรคโซเชียลลิสต์
- ช่วงสองสงคราม: รัฐสภาที่ไร้อำนาจจนถึงยุคฟาสซิสต์
- การปกครองของฟาสซิสต์และระบบพรรคเดี่ยว
- ฐานะรัฐใหม่ของอิตาลีหลังฟาสต์ซิสต์
- ผลกระทบจากสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม
- การรวมตัวที่ไม่ต่อเนื่อง: ระบบพรรคนับตั้งแต่ปี 1947
- การปรับสร้างระบบเศรษฐกิจและการเมือง
- วิเคราะห์ระบบการเมืองการปกครองอิตาลี
------------------------------
0 ความคิดเห็น