วิชา POL 2100 : การเมืองการปกครองในประเทศอินเดีย
โดย อ.ดร.กฤติธี ศรีเกตุ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ข้อสอบอยู่ในคำบรรยายนี้ทั้งหมด โปรดอ่านและทำความเข้าใจให้ดี
----------------
ภูมิหลังเชิงประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดีย
- อารยธรรมฮินดู
- ชาวอารยันมีบทบาทในการสร้างราชอาณาจักรและราชวงศ์ต่างๆ
- การบุกรุกของผู้นับถือศาสนาอิสลามในช่วงศตวรรษที่ 10
- ระบบวรรณะถูกนำมาใช้ในการจัดองค์การทางสังคมที่สลับซับซ้อน ในสภาวะที่อินเดียมีความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม
- วรรณะประด้วยด้วย 4 วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ ศูทรและมีวรรณะย่อย (จาติ หรือ ชาติ) เป็นองค์ประกอบของวรรณะใหญ่
- สภาวะสังคมประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ ลักษณะใหม่ เป็นภาษาแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐสภา องค์การของรัฐ
สภาวะสังคมประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ
- ลักษณะใหม่ เป็นภาษาแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐสภา องค์การของรัฐหรือระบบราชการ การรู้จักจัดการพรรคการเมือง ฯลฯ เป็น “ภาษาสมัยใหม่”
- ภาษาสำนวนแบบประเพณี เป็นลักษณะส่วนใหญ่ของคนอินเดีย เป็นชนบท สนใจเรื่องระดับท้องถิ่นมากกว่าระดับชาติ
- ภาษาสำนวนการเมืองที่เป็นแบบนักบุญหรือแบบเชิงจิตวิญญาณ
อิทธิพลของอังกฤษที่มีต่ออินเดีย
- ทำให้เกิดเอกภาพและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของส่วนต่างๆ
- พัฒนาการบริหาร คือระบบข้าราชการพลเรือนที่เข้มแข็ง
- ด้านกฎหมาย ได้ให้ระบบแห่งความยุติธรรมที่เป็นแบบเดียวกัน เกิดมโนทัศน์ของเสรีภาพภายใต้กฎหมาย
- ด้านเศรษฐกิจ เกิดระบบการยึดครองที่ดิน เกิดชนชั้นทางการค้า
- ด้านสังคม ยกระดับสังคม ลดความสำคัญของวรรณะ เน้นความเสมอภาค
- ด้านวัฒนธรรม ทำให้อินเดียสัมผัสกับตะวันตก ค้นพบมรดกทางวัฒนธรรม
- ด้านการศึกษา ปฏิรูปด้านภาษา การศึกษาภาคบังคับ
- ลดปมโด่งปมด้อย สร้างให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง นำไปสู่การกู้ชาติ
การต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากอังกฤษ
ขบวนการชาตินิยม แบ่งเป็น 3 สมัย
สมัยแรก การต่อสู้โดยวิธีการตามรัฐธรรมนูญหรือแบบเจรจา
เริ่มในปี 1885 จัดตั้ง “สภาแห่งชาติอินเดีย”
ต่อสู้แบบเรียกร้องสิทธิในกรเจรจา หัวหน้าคือ มหาตมะ กอคคะเล่
สมัยที่สอง วิธีการรุนแรง
สมัยที่สอง วิธีการรุนแรง
การใช้กำลังอาวุธ ลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่อังกฤษ หัวหน้ากลุ่มคือ ติลัก
สมัยที่สาม การต่อสู้โดยสัตยาเคราะห์ หรืออหิงสา หรืออวิหิงสา
เริ่มในปี 1920 โดยมหาตมะ คานธี ใช้วิธสายกลาง มีผู้เข้าร่วมจากทุกชนชั้นวรรณะ ใช้เวลา 30 ปี จึงสำเร็จ
บทบาทของมหาตมะคานธี
- การใช้วิธีการแบบอวิหิงสา 3 ครั้งใหญ่ (1919, 1930 และ 1933)
- ปี 1935 อังกฤษออกพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลอินเดีย ให้สิทธิกับคนอินเดียมากขึ้น (ปีนั้นเกิด สันนิบาติมุสลิม โดย มูฮัมมัส อาลี จินนะห์ ต่อมาแยกเป็นปากีสถาน)
- อังกฤษยอมให้เอกราชอินเดียในปี 1947 และยอมให้เกิดปากีสถาน เกิดการฆ่าฟันกันระหว่างคนฮินดูกับมุสลิมในยุคคนั้น
- คานธี ถูกลอบยิงถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 30 มกราคม 1948 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับความพยายามสร้างความกลมเกลียวระหว่างฮินดูกับมุสลิม
- ช่วงแรกหลังได้รับเอกราช อินเดียอยู่ภายใต้จักรภพอังกฤษ กระทั่งเป็นสาธารณรัฐเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี 1950
รัฐธรรมนูญอินเดีย
- ประเด็นสำคัญๆ ในรัฐธรรมนูญ
- อินเดียปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
- รัฐธรรมนูญอินเดียมีความยาวมาก มีข้อความมากที่สุดในโลก รัฐสภาอินเดียมีอำนาจเต็มที่ที่จะเปลี่ยนหรือแก้ไขบทบัญญัติ โดยอาศัยเสียงส่วนมากธรรมดา คือเกินร้อยละ 50
- ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ แต่อำนาจในการบริหารอยู่ที่นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล
- อินเดียเป็นรัฐฆราวาส
- ประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มที่ในภาวะฉุกเฉิน
สาเหตุที่รัฐธรรมนูญอินเดียมีความยาวมาก
- ประการที่หนึ่ง รัฐธรรมนูญอินเดียเป็นแบบสหพันธรัฐ
- ประการที่สอง เกี่ยวกับสิทธิขั้นมูลฐาน
- ประการที่สาม มีการบัญญัติหลักการที่ชี้แนะนโยบายแห่งรัฐประชาชาติอินเดีย
- ประการที่สี่ สะท้อนความพยายามให้มีความรัดกุมและละเอียด
- ประการที่ห้า สะท้อนภาพอิทธิพลของพระราชบัญญัติว่าด้วยการปกครองอินเดีย ค.ศ.1935
- ประการที่หก พยายามจำกัดอำนาจรัฐบาลไม่ให้เป็นเผด็จการ
- ประการที่เจ็ด ความเป็นพหุสังคมของอินเดีย
- ประการที่แปด ความห่วงใยเรื่องผลประโยชน์ของคนหมู่มาก
- ประการที่เก้า ความพยายามแยกอำนาจให้ชัดเจน
- ประการที่สิบ การเลียนแบบแนวคิดและแนวปฏิบัติเดิม
ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี
- ฝ่ายบริหารประกอบด้วย ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และสมาชิกของสภารัฐมนตรี
- ประธานาธิบดีเลือกโดยคณะผู้เลือกตั้ง ดำรงตำแหน่ง 5 ปี
- ประธานาธิบดี เป็น “ส่วนที่เป็นศักดิ์ศรีของรัฐธรรมนูญ”
- ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และสามารถใช้อำนาจได้ในภาวะฉุกเฉิน แต่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะให้ประธานาธิบดีประกาศภาวะฉุกเฉิน และต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภา ถ้าสภาไม่รับรองจะมีผลเพียง 2 เดือน
นายกรัฐมนตรีและสภารัฐมนตรี
- นายกรัฐมนตรีในช่วงต้นมีอำนาจมาก สืบเนื่องมาจากการกู้ชาติ
- สภารัฐมนตรี รับผิดชอบต่อรัฐสภา
- สภารัฐมนตรีประกอบด้วย รัฐมนตรีที่เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรี และที่ไม่เป็นสมาชิกชองคณะรัฐมนตรี
รัฐสภา ระบบราชการ และระบบพรรคการเมือง
- รัฐสภาประกอบด้วย สภาสูง (ราชยสภา) มาจากการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีและมาจากตัวแทนรัฐต่างๆ และสภาล่างหรือโลกสภา มาจากการเลือกตั้งทั่วไป แต่มีสมาชิก 9 คน ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
- ทำหน้าที่สำคัญคือออกกฎหมาย สภาล่างมีอำนาจในเรื่องการเงิน
- ระบบราชการได้รับอิทธิพลจากอังกฤษ มีความเข้มแข็งมาก
- ระบบพรรคการเมืองเป็นแบบพรรคเด่นพรรคเดียว คือพรรคคองเกรส แต่ภายหลังก็เสื่อมความนิยมไปมากกว่าแต่ก่อน
การเลือกตั้งทั่วไปและวัฒนธรรมทางการเมือง
- อินเดียเป็นประเทศที่มีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากที่สุดในโลก
- การระบุว่าอะไรเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองอินเดีย ยากจะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
- ทรรศนะที่ยอมรับกันกว้างๆ คือ การเคร่งครัดทางศาสนา การติดกับความเชื่อเก่า ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เช่น ต่อต้านการวางแผนครอบครัว
- อย่างไรก็ตาม คนอินเดียก็อยู่ในวงกรอบที่เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส่งผลให้มีเสถียรภาพทางการเมืองมากพอควร
----------------------------------
0 ความคิดเห็น