คำแนะนำจากติวเตอร์แบงค์
     สำหรับกระบวนวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป(LAW1104/LAW1004) ประเด็นข้อสอบนั้นยังคงอยู่ในตำราเรียนทั้งหมด และออกสอบทุกประเด็นที่สำคัญ น้อง ๆ ควรเข้าฟังการบรรยายให้ครบทุกครั้งเพื่อจะเข้าเข้าใจเนื้อหามากขึ้นครับ ลักษณะข้อสอบมีทั้ง แนวคิด หลักการ นิยามทางกฎหมาย รวมทั้งการวินิจฉัยโจทย์ น้อง ๆ ต้องอาศัยความจำและความเข้าใจในการทำข้อสอบ
     หากน้อง ๆ ที่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ หรือ ต้องการสอบให้ได้เกรด A นั้น สามารถติดต่อติวเตอร์แบงค์เพื่อนัดติวเป็นการส่วนตัวได้(ติวออนไลน์)
สุดท้ายนี้ของให้น้อง ๆ ทุกคนโชค A


คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. วิวัฒนาการของกฎหมายในยุคใดที่กฎหมาย ศีลธรรม และจารีตประเพณี เป็นสิ่งเดียวกัน
   (1) ยุคกฎหมายประเพณี
   (2) ยุคกฎหมายชาวบ้าน
   (3) ยุคกฎหมายเทคนิค
   (4) ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย

2. กฎหมายสำคัญที่เป็นพื้นฐานของประเทศอังกฤษ ได้แก่
   (1) กฎหมายโรมัน
   (2) กฎหมายสิบสองโต๊ะ
   (3) กฎหมายประเพณี
   (4) ประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน

3. ข้อใดเป็นสภาพบังคับในทางกฎหมายแพ่ง
   (1) ปรับ
   (2) กักขังแทนค่าปรับ
   (3) ริบทรัพย์สินของกลาง
   (4) ค่าสินใหมทดแทน

4. ข้อใดถูกต้องที่เกี่ยวกับการใช้จารีตประเพณีในระบบกฎหมายซีวิลลอร์
   (1) ยกเว้นรับความผิดทางอาญาได้
   (2) กำหนดความรับผิดทางอาญาได้
   (3) อุดช่องว่างกฎหมายอาญาได้
   (4) นำโทษมาปรับใช้เป็นโทษหนักขึ้นได้

5. การแบ่งแยกประเภทกฎหมายเป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนใช้ในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด
   (1) ระบบกฎหมายซีวิลลอร์
   (2) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
   (3) ระบบกฎหมายจารีตประเพณี
   (4) ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

6. ความไม่รู้กฎหมาย มีข้อแก้ตัวตามประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้ศาลลงโทษน้อยได้อย่างไร
   (1) นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลว่าตนเองไม่รู้ว่าการกระทำของตนเองมีความผิด
   (2) พิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าตนเองไม่สามารถเข้าใจกฎหมายเพราะไม่รู้หนังสือ
   (3) ศาลอนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ได้เท่านั้น
   (4) ศาลอนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์และศาลเชื่อว่าไม่รู้กฎหมาย

7. ความผิดในทางเทคนิค หมายถึง
   (1) ความผิดอาญาที่ไม่เป็นความผิดศีลธรรม
   (2) ความผิดอาญาที่เป็นความผิดศีลธรรมด้วย
   (3) ความผิดอาญาที่ผิดทั้งศีลธรรมและผิดพราะกฎหมายห้าม
   (4) ถูกทุกข้อ

8. ศาลในระบบกฎหมายซีวิลลอร์ (Civil Law) ข้อใดถูกต้อง
   (1) ศาลเป็นผู้สร้างหลักกฎหมาย
   (2) ศาลจะเปลี่ยนแปลงหลักกฎหมายคำพิพากษาไม่ได้
   (3) ศาลนำกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมาปรับใช้ได้
   (4) ศาลจะนำหลักกฎหมายลายลักษณ์อักษรมาใช้อย่างเป็นข้อยกเว้น

9. ข้อใดขาดลักษณะของกฎหมาย
   (1) ควบคุมการเคลื่อนไหวของสัตว์และสิ่งของด้วย
   (2) เกี่ยวข้องกับศีลธรรม
   (3) เป็นข้อบังคับของรัฐ
   (4) มีสภาพบังคับ

10. ระบบกฎหมายใด ถ้าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ ศาลสามารถค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปมาอุดช่องว่างแห่งกฎหมายได้
   (1) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
   (2) ระบบกฎหมายซีวิลลอร์
   (3) ระบบกฎหมายจารีตประเพณี
   (4) ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

11. ระบบกฎหมายใดที่เกิดการวินิจฉัยโดยผู้พิพากษาซึ่งได้ให้เหตุผลทางกฎหมายแล้วได้รับการยอมรับผูกพันบังคับเป็นกฎหมาย
   (1) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
   (2) ระบบกฎหมายซีวิลลอร์
   (3) ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
   (4) ระบบกฎหมายประมวลกฎหมาย

12. ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายซีวิลลอร์ ในการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
   (1) เฉพาะประเทศฝรั่งเศส
   (2) เฉพาะประเทศเยอรมัน
   (3) ได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศสและเยอรมัน
   (4) ได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ

13. หลักกฎหมายข้อใดเป็นที่มาของกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติขึ้น
   (1) หลักความยินยอมทำให้เป็นละเมิด
   (2) หลักความไม่รู้กฎหมายแก้ตัวให้พ้นจากความผิดได้
   (3) หลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ
   (4) หลักความไม่รู้ข้อเท็จจริงแก้ตัวให้พ้นจากความรับผิดไม่ได้

14. ข้อใดถูกต้อง
   (1) ระบบกฎหมายซีวิลลอร์ จะตีความตามกฎหมายตามตัวอักษาอย่างเคร่งครัด
   (2) ระบบกฎหมายซีวิลลอร์ ถือว่าคำพิพากษาเป็นบ่อเกิดของกฎหมายที่สำคัญลำดับแรก
   (3) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คือว่าคำพิพากษาเป็นเพียงคำอธิบายตัวบทกฎหมาย
   (4) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จะปฏิเสธไม่นำจารีตประเพณีมาใช้


15. การเสนอร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับปัจจุบัน) พ.ศ.2560 ริเริ่มโดย
   (1) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   (2) ประชาชนเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 10,000 คน
   (3) นายกรัฐมนตรี
   (4) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 20 คน

16. ร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาใด ต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีด้วย
   (1) การตัดสิทธิทางการเมือง
   (2) การจำกัดสิทธิบางประการของประชาชน
   (3) การจัดทำประชาพิจารณ์
   (4) การปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

17. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายบริหารบัญญัติ
   (1) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
   (2) พระราชกฤษฎีกาเบิกค่าเช่าบ้านราชการ
   (3) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหง
   (4) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

18. การที่นายแดงข้าราชการถูกไล่ออกจากราชการเนื่องจากกระทำความผิดวินัยร้ายแรง เป็นความรับผิดอย่างไร
   (1) เป็นความรับผิดทางอาญา
   (2) เป็นความรับผิดทางแพ่ง
   (3) เป็นความรับผิดทางปกครอง
   (4) เป็นความรับผิดทางละเมิด

19. องค์กรรัฐฝ่ายบริหาร สามารถออกฎหมายมีผลบังคับทันทีในกรณีฉุกเฉินจำเป็นรีบด่วนเรียกว่าเป็นกฎหมายบริหารบัญญัติ ได้แก่
   (1) พระราชบัญญัติ
   (2) พระราชกำหนด
   (3) พระราชกฤษฎีกา
   (4) พระบรมราชโองการ

20. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
   (1) มีเนื้อหาอะไรก็ได้
   (2) กำหนดอัตราเรียกเก็บภาษีเท่าไรก็ได้
   (3) กำหนดโทษอาญาอะไรก็ได้
   (4) จำกัดเนื้อหาตามกฎหมายท้องถิ่นนั้น ๆ

21. การตรากฎหมาย ได้แก่
   (1) การนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยเป็นกฎหมาย
   (2) การรับสนองพระบรมราชโองการประกาศใช้กฎหมาย
   (3) การลงนามเป็นคำสั่งประกาศใช้กฎหมาย
   (4) การนำกฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษา

22. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายนิติบัญญัติหรือกฎหมายโดยแท้
   (1) พระราชกำหนด
   (2) พระราชบัญญัติ
   (3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
   (4) ถูกทุกข้อ

23. ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ.2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จะมีผลต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอย่างไร
   (1) ให้ประธานรัฐสภาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป
   (2) ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไป
   (3) ให้รัฐสภายืนยันร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอีกครั้ง
   (4) ให้สภาผู้แทนราษฎรนำกลับมาพิจารณาหลักการและเหตุผลใหม่

24. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเนื้อหาของกฎหมายลำดับรอง
   (1) กำหนดอัตราภาษีได้
   (2) กำหนดโทษทางอาญาได้
   (3) มีเนื้อหาขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
   (4) ถูกทุกข้อ

25. ข้อใดเป็นลักษณะของกฎหมายเอกชน
   (1) ผูกนิติสัมพันธ์ใดก็ได้เท่าที่ไม่ขัดกฎหมาย
   (2) เนื้อหาทั่ว ๆ ไป ไม่ระบุตัวบุคคล
   (3) วัตถุประสงเพื่อประโยชน์สาธารณะ
   (4) บังคับทันที ไม่ต้องฟ้องศาล

26. ข้อใดเป็นลักษณะกฎหมายมหาชน
   (1) ยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
   (2) คู่กรณีสามารถตกลงผูกพันเป็นอย่างอื่น
   (3) มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคู่กรณี
   (4) เป็นการสั่งการเพียงฝ่ายเดียวเป็นส่วนใหญ่

27. ข้อใดไม่ใช่โทษทางอาญา
   (1) กักกัน
   (2) ห้ามเข้าเขตกำหนด
   (3) คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
   (4) ถูกทุกข้อ

28. ส่วนราชการที่จัดอำนาจปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจปกครอง
   (1) อำเภอ
   (2) จังหวัด
   (3) กรมการปกครองท้องถิ่น
   (4) เมืองพัทยา

29. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของกฎหมายอาญา
   (1) กฎหมายอาญาไม่ต้องตีความเคร่งครัด
   (2) กฎหมายอาญาย้อนหลังเพิ่มโทษได้
   (3) กฎหมายอาญานำความผิดใกล้เคียงมาปรับใช้ได้
   (4) กฎหมายอาญาใช้กับการกระทำที่เกิดในราชอาณาจักรไทย

30. การกระทำข้อใดที่ผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้โดยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
   (1) สมศรีใช้มีดแทงนายชั่วที่พยายามข่มขืนกระทำชำเรา
   (2) สุนัขของนายดำหลุดออกมาจากบ้านกัดเด็กหญิงตุ๊กตา นายขาวจึงใช้ไม้ตีสุนัขขาหัก
   (3) สามีฆ่าชายชู้ด้วยเหตุบันดาลโทสะ
   (4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

31. ผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา คือ
   (1) ผู้เสียหาย
   (2) พนักงานอัยการ
   (3) พนักงานสอบสวน
   (4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

32. ความผิดลหุโทษ หมายถึง ความผิดซึ่งกฎหมายระวางโทษ
   (1) กักขังและปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
   (2) จำคุกไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
   (3) จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
   (4) จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

33. นายคงจ้างนายเคนไปฆ่านายโค ต่อมานายคงเกิดกลัวความผิดจึงไปบอกเลิกการจ้าง นายเคนจึงไม่ได้ฆ่านายโค ดังนี้นายคง
   (1) ไม่มีความผิด
   (2) มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ
   (3) เป็นผู้ใช้ แต่ไม่ต้องรับโทษ
   (4) เป็นผู้ใช้ รับโทษ 1 ใน 3

34. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
   (1) ความผิดต่อส่วนตัวจะสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ก่อนแล้ว
   (2) พนักงานอัยการจะฟ้องคดีอาญาได้ก็ต่อเมื่อมีการสอบสวนมาแล้ว
   (3) โดยปกติศาลไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง ถ้าพนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดีอาญา
   (4) ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องในคดีอาญาไม่ได้ ต้องให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดีอาญา

35. ขณะนายดำทำความสะอาดอาวุธปืนอยู่หน้าบ้านของตน ไม่ได้ตรวจสอบว่ายังไม่มีกระสุนปืนอยู่ ปรากฏว่าเกิดปืนลั่นใส่นายขาวซึ่งบังเอิญเดินผ่านหน้าบ้านนายดำพอดี ดังนี้การกระทำของนายดำเป็นความผิดฐานใด
   (1) ฆ่าคนตายโดยประมาท
   (2) ฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล
   (3) ฆ่าคนตายโดยเจตนาประสงค์ต่อผล
   (4) ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา

36. นายเข่งได้รับการสักยันต์ แล้วจิตใจฮึกเหิม ได้ท้าให้นายเก่งทดลองแทงตน นายเก่งรับคำท้า จึงใจ้มีดแทงนายเข่งได้รับบาดเจ็บสาหัส ดังนี้นายเก่ง
   (1) มีความผิดลหุโทษฐานใช้กำลังทำร้าย
   (2) ไม่มีความผิดเพราะนายเข่งยอมให้แทง
   (3) มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ
   (4) มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนาเล็งเห็นผล

37. นายเขียวถือปืนไปลอบยิงนายดำที่บ้าน เห็นสุนัขสีดำของนายดำนอนอยู่บนเตียงผ้าใบ นายเขียวเข้าใจว่าเป็นนายดำ จึงใช้ปืนยิงไปถูกสุนัขตาย ดังนี้นายเขียว
   (1) มีความผิดฐานเจตนาทำให้เสียทรัพย์
   (2) ไม่มีความผิดเพราะนายเขียวไม่มีเจตนายิงสุนัข
   (3) ไม่มีความผิดเพราะขาดองค์ประกอบ
   (4) มีความผิดฐานพยายามฆ่าซึ่งไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้

38. นายดำเดินผ่านรั้วบ้านของนายขาว สุนัขในบ้านของนายขาวส่งเสียงเห่า นายดำรำคาญจึงใช้ปืนยิงสุนัขของนายขาวตาย นายดำต้องรับผิดทางอาญาในความผิด
   (1) ไม่มีความผิดพราะกระทำต่อสัตว์
   (2) ทำให้เสียทรัพย์
   (3) มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ
   (4) มีความผิดต้องรับโทษ ยอมความไม่ได้

39. โจรลอบปีนเข้าบ้านนายเอก ภรรยานายเอกร้องให้คนช่วย โจรจึงเงื้อมีดจะฟัน นายเอกจึงใช้ปืนยิงถูกโจรถึงแก่ความตาย ดังนี้นายเอก
   (1) กระทำโดยบันดาลโทสะ ศาลลงโทษน้อย
   (2) กระทำด้วยความจำเป็น มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ
   (3) กระทำป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด
   (4) ถูกทุกข้อ

40. นายโก๋ยุสุนัขของตนให้กัดนางสาวแจ๋วจนบาดเจ็บ ดังนี้นายโก๋ต้องรับผิดชอบทางอาญาในฐานความผิดใด
   (1) เจตนาทำร้ายร่างกายผู้อื่น
   (2) ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บ
   (3) ทำร้ายร่างกายโดยไม่เจตนา
   (4) ไม่มีความผิดเพราะเป็นการกระทำของสุนัข
----------------------