101. หลักการใดที่ใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะได้เป็นอย่างดี
(1) แรงจูงใจในการทำดี
(2) เศรษฐกิจพอเพียง
(3) การรับรู้และเรียนรู้
(4) ความมีเอกภาพในตนเองของบุคคล
102. เงื่อนไขใดสำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ปัญญา
(2) คุณธรรม
(3) หลักวิชา
(4) ชีวิต
103. มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นมหาวิทยาลัยแบบใด
(1) แบบตลาดวิชา
(2) แบบปิด
(3) แบบเปิด
(4) แบบทางไกล
104. บุคคลในสังคมไทยให้ความสนใจกับการที่มีจิตสาธารณะเพราะเหตุใด
(1) การพัฒนาสังคมไร้จุดหมาย
(2) การเพิ่มขึ้นของความขัดแย้ง
(3) การล้มละลายและขาดทุนของบริษัทห้างร้าน
(4) ความไม่เชื่อใจตนเองของบุคคลส่วนมาก
105. ปัญหาใดที่เกษตรกรไทยมักพบเสมอ ๆ
(1) การขาดแคลนแรงงาน
(2) ไม่มีผลผลิตขายแก่ผู้บริโภค
(3) ขาดทักษะในการผลิต
(4) ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
106. อะไรคือเหตุผลส่วนหนึ่งของแนวคิดการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงแบบตลาดวิชา โดยกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น
(1) ต้องการทำผลงานทางการเมือง
(2) ดำเนินการตามนโยบายของพรรคการเมืองที่สังกัด และความต้องการของรัฐบาล
(3) เพื่อนําประเทศเข้าสู่การเป็นสากล
(4) สมาชิกในกลุ่มหลายคนเคยศึกษาในมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชามาก่อน
107. ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สามเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การแบ่งทรัพยากรน้ำและที่ทำกิน
(2) การเลือกอาชีพการเกษตร
(3) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
(4) การออมเงินและทรัพย์สิน
108. มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษารูปแบบใด
(1) การศึกษาตามอัธยาศัย
(2) การศึกษาปริญญาตรีถึงปริญญาเอก
(3) การศึกษาในระบบ
(4) การศึกษานอกระบบ
109. ก่อนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐที่กรุงเทพฯ อยู่ก่อนจำนวนเท่าใด
(1) 3 แห่ง
(2) 4 แห่ง
(3) 5 แห่ง
(4) 7 แห่ง
110. นายประมวล กุลมาตย์ ได้เริ่มจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (มหาวิทยาลัยรามคําแหง) เมื่อปีใด
(1) 2512
(2) 2521
(3) 2503
(4) 2500
111. ข้อใดคือประโยชน์ของเทคโนโลยีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ให้ความบันเทิงผ่อนคลาย
(2) ทําให้เกิดการค้าขายยุคใหม่
(3) ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของทรัพยากร
(4) ทําให้เกิดเครือข่ายสังคม
112. สถานที่ที่ใช้ในการสอบของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในช่วงแรกของการจัดตั้งไม่เพียงพอ ดังนั้นมหาวิทยาลัยขอความร่วมมือใช้สถานที่ใด
(1) สนามกีฬาของกรมพลศึกษา
(2) ห้องประชุมของกรมประชาสัมพันธ์
(3) ห้องประชุมของกรุงเทพมหานคร
(4) โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
113. ข้อใดคือคนที่ไม่มีจิตสาธารณะ
(1) นายเขียวลักขโมยม้านั่งในสวนสาธารณะมาใช้ที่บ้าน
(2) นายดําปิดไฟทันทีที่อ่านหนังสือเสร็จ
(3) นายแดงขายของลดราคาเมื่อสินค้าในร้านของเขาเหลือเป็นชิ้นสุดท้าย
(4) นายขาวซื้ออาหารนกมาเลี้ยงนกพิราบที่มหาวิทยาลัย
114. สาเหตุสําคัญที่กล่าวไว้ในหลักการให้ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง คืออะไร
(1) การศึกษาของไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
(2) นักเรียนไม่มีที่เรียนจํานวนมาก
(3) ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยไม่ทันสมัย
(4) เพื่อไม่ให้มหาวิทยาลัยจากต่างชาติมาเปิดสอน
115. ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นอยู่ของครอบครัวเกษตรกรควรเป็นอย่างใด
(1) ทันสมัย มีอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนเพียงพอ
(2) มีความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกทุกคนในครอบครัว
(3) มีทรัพย์สินเงินทองเพียงพอ เพื่อสนองตอบความต้องการของสมาชิกทุกคนในครอบครัวได้
(4) มีคุณภาพในการใช้ชีวิต และมีปัจจัยสี่เพียงพอ
116. นายประเวศ วะสี เสนอแนวคิดการสร้างจิตสาธารณะโดยการใช้เครือข่าย อาศัยเทคนิคที่ประกอบด้วยปัจจัยสามปัจจัย คืออะไร
(1) ความรัก ความรู้ ความเป็นธรรมชาติ
(2) ความจริง ประโยชน์ ความเข้าใจ
(3) ความหมาย ความรวดเร็ว ความยั่งยืน
(4) ความไม่แน่นอน ความเที่ยงตรง ความซื่อสัตย์
117. เหตุผลของการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง คืออะไร
(1) ต้องการแยกการบริหารจากคณะศึกษาศาสตร์
(2) การขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์
(3) ข้อเรียกร้องของอาจารย์และนักศึกษา
(4) แนวโน้มทางด้านวิชาการ
118. การศึกษาของชุมชนควรได้รับการสนับสนุนอย่างไรโดยชุมชน ตามหลักการทฤษฎีใหม่
(1) มีลูกหลานเข้าเรียนเพียงพอ
(2) มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
(3) มีการแบ่งปันความรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นตัวกลาง
(4) มีแหล่งเงินสนับสนุน
119. คําที่ถูกต้องที่เติมลงในช่องว่างในข้อความข้างล่างที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือข้อใด
“…………………. ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ”
(1) รักชาติไทย
(2) รู้จักอภัย
(3) เป็นพลเมืองดี
(4) พัฒนาสังคม
120. วิชา RAM 1000 ความรู้คู่คุณธรรม เป็นวิชาที่สอดคล้องกับสิ่งใดของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) อัตลักษณ์
(2) ความเป็นมา
(3) เอกลักษณ์
(4) พันธกิจ
------------------------------
0 ความคิดเห็น