ประมวลกฎหมายอาญา
สารบาญ ประมวลกฎหมายอาญา ปรับปรุงล่าสุด พ.ศ.2564
---------------------------
✅✅✅กรุณาคลิกที่มาตราเพื่อดูรายละเอียด
ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป
ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปหมวด ๑ บทนิยาม มาตรา 1
หมวด ๒ การใช้กฎหมายอาญา มาตรา 2 - 17
หมวด ๓ โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
ส่วนที่ ๑ โทษ มาตรา 18 - 38
ส่วนที่ ๒ วิธีการเพื่อความปลอดภัย มาตรา 39 - 50
ส่วนที่ ๓ วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ มาตรา 51 - 58
หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา มาตรา 59 - 79
หมวด ๕ การพยายามกระทำความผิด มาตรา 80 - 82
หมวด ๖ ตัวการและผู้สนับสนุน มาตรา 83 - 89
หมวด ๗ การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง มาตรา 90 - 91
หมวด ๘ การกระทำความผิดอีก มาตรา 92 - 94
หมวด ๙ อายุความ มาตรา 95 - 101
ลักษณะ ๒ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ มาตรา 102 - 106
ภาค 2 ความผิด
ลักษณะ ๑ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหมวด ๑ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา 107 - 112
หมวด ๒ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร มาตรา 113 - 118
หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอก ราชอาณาจักร มาตรา 119 - 129
หมวด ๔ ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ มาตรา 130 - 135
ลักษณะ ๑/๑ ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย มาตรา 135/1 - 135/4
ลักษณะ ๒ ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
หมวด ๑ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน มาตรา 136 - 146
หมวด ๒ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 147 - 166
ลักษณะ ๓ ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
หมวด ๑ ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม มาตรา 167 - 199
หมวด ๒ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม มาตรา 200 - 205
ลักษณะ ๔ ความผิดเกี่ยวกับศาสนา มาตรา 206 - 208
ลักษณะ ๕ ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน มาตรา 209 - 216
ลักษณะ ๖ ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน มาตรา 217 - 239
ลักษณะ ๗ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา มาตรา 240 - 249
หมวด ๒ ความผิดเกี่ยวกับดวงตรา แสตมป์และตั๋ว มาตรา 250 - 263
หมวด ๓ ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร มาตรา 264 - 269
หมวด ๔ ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 269/1 - 269/7
หมวด ๕ ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง มาตรา 269/8 - 269/15
ลักษณะ ๘ ความผิดเกี่ยวกับการค้า มาตรา 270 - 275
ลักษณะ ๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา 276 - 287
ลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
หมวด ๑ ความผิดต่อชีวิต มาตรา 288 - 294
หมวด ๒ ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295 - 300
หมวด ๓ ความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา 301 - 305
หมวด ๔ ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา มาตรา 306 - 308
ลักษณะ ๑๑ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
หมวด ๑ ความผิดต่อเสรีภาพ มาตรา 309 - 321/1
หมวด ๒ ความผิดฐานเปิดเผยความลับ มาตรา 322 - 325
หมวด ๓ ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 - 333
ลักษณะ ๑๒ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
หมวด ๑ ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ มาตรา 334 - 336 ทวิ
หมวด ๒ ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ มาตรา 337 - 340 ตรี
หมวด ๓ ความผิดฐานฉ้อโกง มาตรา 341 - 348
หมวด ๔ ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ มาตรา 349 - 351
หมวด ๕ ความผิดฐานยักยอก มาตรา 352 - 356
หมวด ๖ ความผิดฐานรับของโจร มาตรา 357
หมวด ๗ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ มาตรา 358 - 361
หมวด ๘ ความผิดฐานบุกรุก มาตรา 362 - 366
ลักษณะ ๑๓ ความผิดเกี่ยวกับศพ มาตรา 366/1 - 366/4
ภาค 3 ลหุโทษ มาตรา 367 - 398
----------------------------
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙
เป็นปีที่ ๑๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายอาญาเสียใหม่เพราะตั้งแต่ได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ในพุทธศักราช ๒๔๕๑ เป็นต้นมา พฤติการณ์ของบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ประมวลกฎหมายอาญาท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นไป
มาตรา ๔ เมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา ๕ เมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับแล้ว ในกรณีที่กฎหมายใดได้กำหนดโทษโดยอ้างถึงโทษฐานลหุโทษในกฎหมายลักษณะอาญาไว้ ให้ถือว่ากฎหมายนั้นได้อ้างถึงโทษ ดังต่อไปนี้
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น ๑ หมายความว่า ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น ๒ หมายความว่า ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น ๓ หมายความว่า จำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น ๔ หมายความว่า จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ เมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับแล้ว ในการจำคุกแทนค่าปรับตามกฎหมายใด ไม่ว่ากฎหมายนั้นจะบัญญัติไว้ประการใด ให้นำประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ แต่สำหรับความผิดที่ได้กระทำก่อนวันที่ประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับ มิให้กักขังเกินกว่าหนึ่งปีสำหรับโทษปรับกระทงเดียว และสองปีสำหรับโทษปรับหลายกระทง
มาตรา ๗ ในกรณีวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา ๔๖ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับเสมือนเป็นความผิดอาญา แต่ห้ามมิให้คุมขังชั้นสอบสวนเกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ถูกจับมาศาลรวมเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย
มาตรา ๘ เมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงกฎหมายลักษณะอาญา หรืออ้างถึงบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญา ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างถึงประมวลกฎหมายอาญา หรือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน แล้วแต่กรณี
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ได้ประกาศใช้มานานแล้วและได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่หลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงเป็นการสมควรที่จะได้ชำระสะสาง และนำเข้ารูปเป็นประมวลกฎหมายอาญาเสียในฉบับเดียวกัน
อนึ่ง ปรากฏว่าหลักการบางอย่างและวิธีการลงโทษบางอย่างควรจะได้ปรับปรุงให้สมกับกาลสมัยและแนวนิยมของนานาประเทศ ในสมัยปัจจุบันหลักเดิมบางประการจึงล้าสมัย สมควรจะได้ปรับปรุงเสียให้สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
0 ความคิดเห็น