หลังจากที่ผมได้อธิบายถึงขอบเขตการใช้ของ Modal Auxiliary Verbs หลัก ๆ มานั้น เราจะพบว่ามีการใช้ในลักษณะที่หลากหลายกรณี เช่น บางกรณีใช้เป็นภาษาพูด บางกรณีใช้เป็นภาษาระดับทางการ บางกรณีสามารถใช้ทดแทนกันได้ บางกรณีใช้แทนกันไม่ได้ บางกรณีมีความหมายเฉพาะ แต่การนำไปใช้ในการทำข้อสอบนั้น นักศึกษาจะต้องเลือกเฉพาะที่ใช้เป็นทางการ เพราะบางกรณีอาจจะใช้ได้ในภาษาพูดเท่านั้น และบางกรณีพบในภาษาเขียนเท่านั้น หัวข้อนี้จะพูดถึงการใช้ Modal Auxiliary Verbs ที่สามารถทดแทนกันได้อย่างไรบ้าง และมีความหมายแตกต่างกันอย่าไร

การใช้กริยา will/shall เพื่อบอกอนาคต

โดยทั่วไปนั้นเราจะใช้ will เพื่อบอกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I will walk to work tomorrow.” (future simple tense)
• “I will be walking to work this week.” (future continuous tense)
• “I will have walked to work each day this week.” (future perfect tense)
• “By December, I will have been walking to work each week for a year.” (future perfect continuous tense)

แต่เราจะใช้ shall สำหรับประธาน I หรือ We ได้เท่านั้น และใช้ในระดับทางการมาก โดยเฉพาะพบโดยทั่วไปใน British English นอกจากนี้ shall มักจะใช้กรณีการเชื้อเชิญอย่างสุภาพ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I shall be attending a dinner with the prime minister in April.”
• “Shall we dance,  my dear?”

การขออนุญาต ด้วยกริยา Can  / Could / May / Might

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Can I open  the window, please?” (อนุญาตให้ฉันเปิดประตูจะได้ไหม)
• “Could I open  the window, please?”
• “May I open  the window, please?”(โปรดอนุญาตให้ฉันเปิดประตูให้ได้ไหม)
• “Might I open  the window, please?”
ถึงแม้ว่าจะมีความหมายเดียวกัน แต่จะบ่งบอกอารมณ์ที่ต่างกันเล็กน้อย ดังนี้ครับ
1. can ถือว่าเป็นทางการน้อยที่สุด เพราะมีลักษณะเชิงบังคับ แต่ก็สามารถใช้ได้ในการสนทนาที่ไม่เป็นทางการ เท่านั้น
2. could ถือว่ามีความสุภาพกว่า can และสามารถใช้กันโดยส่วนใหญ่ ยกเว้นการสนทนาที่เป็นทางการมาก
3. may ถือว่า มีความสุภาพกว่า can และ could และถือว่าเป็นมาตรฐานของการแสดงถึงการขออนุญาต
4. might ถือว่า เป็นทางการมากที่สุด แต่ไม่นิยมนำมาใช้กันโดยทั่วไป ยกเว้นกรณีที่เป็นทางการในระดับสูงสุด

การบอกความสามารถด้วยกริยา Can  / Could

เราจะใช้กริยา can เพื่อบอกถึงความสามารถในปัจจุบัน
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I can speak three languages.”
• “He can swim very well.”
เมื่อพูดถึงความสามารถที่เกิดขึ้นในอดีต
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “He could speak three languages when he was four years old.
(เขาสามารถพูดได้ 3 ภาษาเมื่อเขาอายุได้ 4 ขวบ)
• “She couldn’t ski until she was a teenager.
(หล่อนไม่สามารถเล่นสกีได้ จนกระทั่งหล่อนเป็นวัยรุ่น)

การบอกความเป็นไปได้ด้วย May/Might

ทั้ง May/Might สามารถบอกความน่าจะเป็นของสถานการณ์ที่จะเกิด 50/50 เปอร์เซ็นต์
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I might go to the cinema today.”
(ฉันอาจจะไปดูภาพยนต์วันนี้) *ไม่แน่ชัด
• “I may go to bed early this evening.”
(ฉันอาจจะเข้านอนเร็วในคืนนี้) *ไม่แน่
หมายเหตุ โดยทั่วไปเราถือว่าการใช้ may เป็นทางการขึ้นไปอีก เนื่องจากว่า การใช้ might เป็นการแสดงว่ามีความเป็นไปได้ที่น้อยกว่า may

การเสนอความช่วยเหลือด้วย Can  / May  / Shall

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Can I get the door for you?”
• “May I get the door for you?” (ขอให้ฉันช่วยเปิดประตูให้คุณได้ไหม)
• “Shall I get the door for you?”
จากตัวอย่างประโยค การใช้ may ถือว่ามีความสุภาพและทางการกว่า can ถึงแม้ว่า can จะมีความหมายว่าเต็มใจให้ความช่วยเหลือ ส่วนการใช้ shall เป็นการให้คำแนะนำที่สุภาพขึ้นไปอีก

การขอร้องด้วย Will / Can  / Could / Would

โดยทั้ง 4 คำนี้ แสดงถึงระดับความสุภาพที่ต่างกัน
พิจารณาตัวอย่างประโยค "กรุณาเปิดประตูให้ฉันหน่อยได้ไหม"
• “Will you get the door for me, please?” (เป็นการบังคับมากที่สุด – มีความสุภาพน้อยที่สุด)
• “Can  you get the door for me, please?” (เป็นการบังคับน้อยลงมาอีก – มีความสุภาพขึ้นอีกเล็กน้อย)
• “Could you get the door for me, please?” (เป็นการบังคับน้อย – มีความสุภาพขึ้นอีก)
• “Would you get the door for me, please?” (เป็นการบังคับน้อยที่สุด – มีความสุภาพมากที่สุด)
เราจะพบว่า โดยส่วนใหญ่แล้วการขอร้องจะใช้ Could และWould ได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เรามักจะใช้ร่วมกับคำอื่น เช่น (“please,” “if you don’t mind,” “if you could be so kind,” เป็นต้น) เพื่อทำให้ระดับความสุภาพแตกต่างกันได้อีก

การบอกความหมายว่า "ควรหรือต้องทำ" ด้วย Must / Shall / Should / Will

สำหรับการใช้ Modal Auxiliary Verbs เพื่อบอกความหมายว่า ควรทำ หรือ ต้องทำ นั้น การใช้กริยา must ถือว่าเป็นคำสั่งโดยตรงหรือมีลักษณะบังคับมากที่สุด
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Employees must wash their hands before returning to work.”
(ลูกจ้างต้องล้างมือก่อนกลับเข้ามาทำงาน)
• “Owners must clean up after their pets.”
(เจ้าของต้องจัดการสิ่งสกปรกสัตว์เลี้ยง)

ส่วนการใช้ shall นั้น จะใช้เกี่ยวกับข้อบังคับตามสัญญาหรือทางกฎหมาย และใช้เป็นภาษาทางการ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The defendant shall pay the plaintiff $5,000 in damages.”
(จำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้โจก์ 5,000 เหรียญ)
• “The purchaser agrees that he or she shall forego any right to a refund after 90 days.”
(ผู้ซื้อตกลงว่า เขาหรือหล่อนจะสละสิทธิ์เพื่อขอเงินคืนได้หลัง 90 วัน)

ส่วนในภาษาพูดจะใช้ should แทน must หรือ shall โดยจะมีความหมายเชิงแนะนำมากกว่า
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Students should hand in their assignments before Friday.”
(นักเรียนควรส่งงานที่รับมอบหมายก่อนวันศุกร์)
• “She should apologize for her behavior!”
(หล่อนควรขอโทษเกี่ยวกับพฤติกรรมของหล่อน!)
• “You should always pay your bills on time.”
(คุณควรจ่ายบิลให้ตรงเวลาเสมอ)

-------
สำหรับโพสท์นี้ ขอจบไว้เพียงแค่นี้ครับ หัวข้อต่อไปจะเป็น Semi-Modal Auxiliary Verbs สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
  6. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 1 ม.ค. 2563