ในการแบ่งประเภทของกริยาในภาษาอังกฤษนั้น สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ หัวข้อนี้ผมจะจำแนกรูปกริยากริยา แบ่งตามรูปแบบ(Forms) โดยสังเขป มีดังนี้
รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Auxiliary Verbs
คำว่า Auxiliary Verbs หรือเรียกว่า Helping Verbs หมายถึง กริยาที่นำมาใช้เพื่อทำให้ความหมายของกริยาหลัก (Main Verbs) ในประโยคมีความหมายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในภาษาอังกฤษนั้น มี Primary Auxiliary Verbs ที่สำคัญ อยู่ 3 ตัว คือ กริยา be, have, และ do
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I am working on my project.” (โครงสร้าง present continuous tense)
• “She does not work here anymore.” (ประโยคปฏิเสธ)
• “Have you seen my keys?” (ประโยคคำถาม)
ยังมีกริยาช่วยอีกกลุ่มที่เราเรียกว่า Modal Auxiliary Verbs ซึ่งได้แก่ can, could, will, would, shall, should, must, may, และ might กลุ่มนี้จะนำมาใช้ในกรณีที่ต้องการพูดถึง ความเป็นไปได้ ความสามารถ การผูกมัด หรือ การบอกอนาคต
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I will be there tonight.” (บอกอนาคต)
(ฉันจะอยู่ที่นั่นคืนนี้)
• “She can write very well.” (ความสามารถ)
(ฉันสามารถเขียนได้ดีมาก)
• “May I be excused from the table?” (ขออนุญาต)
(ฉันต้องขออนุญาตโต๊ะนั้นกลับก่อนได้ไหม?)
• “We must finish this today.” (ผูกมัด)
(พวกเราต้องทำอันนี้ให้เสร็จวันนี้)
*เราจะสังเกตเห็นว่า รูปของ Modal Auxiliary Verbs จะไม่ผันตามโครงสร้าง ยังคงรูปเดิมของกริยาอยู่นั่นเอง
(รายละเอียดของหัวข้อนี้ผมจะกล่าวในโพสท์อื่นต่อไป)
รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Infinitives
คำว่า Infinitives คือ การสร้างรูปพื้นฐานของกริยา เมื่อเราพูดถึงกริยาในความหมายทั่วไป โดยการเพิ่ม Particle "to" วางไว้หน้ากริยารูปเดิม (Base Form Verb)ตัวอย่างของกริยาในรูป Infinitives
to run
to walk
to read
to be
to learn
to act
โดยที่กริยาในรูป Infinitives จะมีฐานะเป็น คำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์ในประโยค กล่าว คือ Infinitives ไม่ได้มีหน้าที่เป็นกริยาจริง ๆ ในประโยค
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I love to run.” (ทำหน้าที่เป็น noun)
(ฉันชอบการวิ่ง)
run = วิ่ง
to run = การวิ่ง
• “I wish I had something to do.” (ทำหน้าที่เป็นadjective)
(ฉันปรารถนาให้ฉันมีสิ่งที่จะทำ)
to do ทำหน้าที่เหมือนคุณศัพท์ขยาย something
• We must carefully observe to understand.(ทำหน้าที่เป็น adverb)
(เราต้องสังเกตอย่างระมัดระวังเพื่อที่จะทำความเข้าใจ)
to understand ทำหน้าที่เป็น Adverb ขยายกริยา observe
(รายละเอียดของหัวข้อนี้ผมจะกล่าวในโพสท์อื่นต่อไป)
รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Participles
คำว่า Participles หมายถึง รูปของกริยาที่จะไปทำหน้าที่ คือ1. ใช้เป็นกริยาช่วยในการสร้าง Tense ของ Continuous และ Perfect
2. ใช้เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนาม
โดยกริยาในรูปของ Participles แบ่งออกเป็น 2 รูป คือ
1. Present Participle
2. Past Participle
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีใช้เป็น Continuous Tense
• “Can’t you see that I am reading?” (present continuous tense)
• “I was watching that.” (past continuous tense)
• “They will be arriving soon.” (future continuous tense)
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีใช้เป็น Perfect Tense
• “You have worked long enough.” (present perfect tense)
• “We had seen too much.” (past perfect tense)
• “They’ll have arrived before we get there.” (future perfect tense)
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีใช้เป็น คำคุณศัพท์(Adjective)
• “The mother looked down at her smiling child.”
• “I could tell by the exhausted look on his face that he needed sleep.”
(รายละเอียดของหัวข้อนี้ผมจะกล่าวในโพสท์อื่นต่อไป)
รูปแบบของกริยาที่แบ่งตามลักษณะของการกระทำ
เนื่องจากกริยานั้นมีการแบ่งออกเป็นหลายประเภท ถ้าแบ่งตามลักษณะของการกระทำ มี 2 กลุ่ม คือ1. กลุ่มกริยาที่เรียกว่า Action (Dynamic) Verbs
2. กลุ่มกริยาที่เรียกว่า Stative Verbs
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ
Action Verbs คือ กริยาเคลื่อนไหว เช่น run = วิ่ง
Stative Verbs คือ กริยาอยู่กับที่ เช่น be = เป็น, อยู่, คือ
■ กริยาที่เรียกว่า Action Verbs บางตำราเรียก Dynamic Verbs เราหมายถึง กริยาที่บอกอาการเคลื่อนไหว
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค Action Verbs
• “I ran to school.”
(ฉันวิ่งไปโรงเรียน)
• “She read a book.”
(หล่อนอ่านหนังสือ)
• “They talked during lunch.”
(พวกเขาพูดคุยระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน)
• “We swam for over an hour.”
(พวกเราว่ายน้ำนานกว่าชั่วโมง)
■ กริยาที่เรียกว่า Stative Verbs เราหมายถึง กริยาที่บอกสถานะ สภาพ ความรู้สึก ฯลฯ
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค Stative Verbs
• “I am hungry.” (ฉันหิว)
• “You sound tired.” (คุณดูเหนื่อย)
• “He seems like a bully.” (เขาดูเหมือนนักเลง)
• “She likes old movies.” (หล่อนชอบหนังเก่า)
• “They own three cars.” (พวกเขาเป็นเจ้าของรถ 3 คัน)
• “I understand the issue.” (ฉันเข้าใจปัญหานั้น)
• “Your happiness depends on doing something you enjoy.”
(ความสุขของคุณขึ้นอยู่กับการทำสิ่งที่คุณชื่นชอบ)
หมายเหตุ ยังมีกริยาบางคำที่เป็นได้ทั้ง Action (Dynamic) Verbs หรือ Stative Verbs
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I see what you mean.” (ฉันเข้าใจสิ่งที่คุณหมายถึง)
กรณีนี้ see เป็น Stative Verbs (เพราะ see มีความหมายว่า เข้าใจ)
• “ I am seeing Robert tomorrow." (ฉันจะเข้าพบโรเบิร์ตวันพรุ่งนี้)
กรณีนี้ see เป็น Dynamic Verbs (เพราะ see มีความหมายว่า เข้าพบ)
(รายละเอียดของหัวข้อนี้ผมจะกล่าวในโพสท์อื่นต่อไป)
สรุปสำหรับหัวข้อของโพสท์นี้ ผมพูดถึง ประเภทของกริยาในภาษาอังกฤษ คือ
1. รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Auxiliary Verbs
2. รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Infinitives
3. รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Participles
4. รูปแบบของกริยาที่แบ่งตามลักษณะของการกระทำ
เป็นเพียงย่อ ๆ เท่านั้น และยังมีกริยารูปแบบอื่น ๆ อีก เอาไว้ต่อในตอนต่อไป สวัสดีครับ
เรียบเรียงโดย
- ติวเตอร์แบงค์
- สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
- ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
- ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
- Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
- Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
- Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
- Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
- Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
0 ความคิดเห็น