สวัสดีครับ นักศึกษา เรามาถึงหัวข้อที่สำคัญมากอีกเรื่องหนึ่งในการศึกษาไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ก็คือ คำกริยา หรือ Verb นั่นเองครับ ซึ่งหัวข้อนี้มีค่อนข้างมาก ตามที่ผมได้ระบุเอาไว้ในสารบัญเนื้อหา สำหรับโพสท์นี้ก็จะเป็นการพูดถึงบทนำหรือภาพรวมกันก่อนครับ และผู้ศึกษาจำเป็นต้องจำคำศัพท์เฉพาะที่เราต้องรู้ เพื่อจะได้เข้าใจเมื่อผมพูดถึงโครงสร้างประโยคในบทท้าย ๆ ครับ

คำกริยา(Verb) ในภาษาอังกฤษ

นิยาม
Verb คือ คำที่ใช้บอก การกระทำ กระบวนการ สภาวะหรือสถานะความเป็นอยู่ ของคนหรือสิ่งต่าง ๆ
Verb มีบทบาทที่สำคัญของโครงสร้างในประโยค เป็นส่วนที่บอก(Predicate) ถึงการกระทำของประธาน (Subject) เพื่อสร้างขึ้นเป็นประโยค ซึ่งในประโยคจะขาด Verb  ไม่ได้

1. บทบาทของ Verb  มีฐานะเป็นภาคแสดง (Predicate) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. Finite Verbs
2. Non-Finite Verb
Finite Verbs หมายถึง กริยาที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับประธานของประโยค กล่าวคือ ไม่มีกริยาอื่นเข้ามาเป็นส่วนประกอบ
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I swim every day.” (ฉันว่ายน้ำทุกวัน)
• “She reads many books.” (หล่อนอ่านหนังสือมากมาย)
• “He talked for several hours.” (เขาพูดนานหลายชั่วโมง)
จากตัวอย่าง เราจะเห็นว่า กริยาที่แสดงถึงการกระทำของประธานโดยตรงในประโยค เราเรียก กริยาชนิดนี้ว่า Finite Verbs ครับ ผมจะไม่นิยามว่าเป็นกริยาแท้ กริยาปลอม กริยาเก๊ แต่ผมหมายถึงกริยาที่รับคำสั่งโดยตรงจากประธาน อยู่ติดกับประธาน หรือ เราจะเรียกว่าเป็นกริยาหลัก น่าจะใกล้เคียง ถ้าใครสับสนก็ให้เข้าใจว่า มันเป็นกริยาที่อยู่ตัวเดียว โดดๆ นั่นแหละครับ คือ Finite Verbs เพื่อลดความกำกวม

กริยาที่ถือว่าเป็น Finite Verbs จะมี 3 รูป คือ
1. กริยารูปเดิม (Base Form) หรือกริยาที่ไม่เติม -s
2. กริยารูปอดีต (Past Simple)
3. กริยาที่ผันตามประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 (กริยาที่เติม -s)

Non-Finite Verb หมายถึง รูปกริยาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ Finite Verb  (สั้น ๆ ครับ) หรือหมายถึงกริยาที่ไม่แสดงสัมพันธ์โดยตรงกับประธาน
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “We are learning about the American Revolution in school.”
เราจะพบว่า ประโยคนี้เป็นโครงสร้างของ Present Continuous Tense
ส่วนกริยา are learning เราจะนับเป็นหน่วยเดียว และ learning เป็นกริยาที่อยู่ในรูป Present Participle
ในประโยคนี้ เราเรียก learning ว่าเป็น Non-Finite Verb
แสดงว่า are เป็น Finite Verbs
ถ้าผมเขียนแยกจะเป็นแบบนี้ครับ
• “We are
• “We learning
เราจะพบว่า กริยาตัวแรกเป็น Finite เพราะมันแสดงถึงความสัมพันธ์กับประธานโดยตรง และนำไปสร้างเป็นรูปประโยคที่สมบูรณ์ได้มากมาย เช่น
“We are tired.”
“We are almost there.”
“We are a large group.”
ในทางกลับกัน กริยาตัวที่สอง คือ learning เราไม่สามารถนำไปสร้างให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ เช่น
“We learning math.”
“We learning a lot.”
“We learning in school.”

ดังนั้น กริยาที่เรียกว่า Non-Finite Verb ได้แก่ Gerunds, Infinitives, และ Participles (ทั้ง Past และ Present) สำหรับความแตกต่างระหว่าง Finite และ Non-finite  จะลงรายละเอียดให้เข้าใจกันอีกที
สรุปที่กล่าวมานั้น เป็นแค่การจัดประเภทของกริยาตามความสัมพันธ์กับประธาน ได้ 2 แบบ นะครับ

2. บทบาทของกริยา แบ่งตามการกระทำ(Action) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. Transitive Verbs หมายถึง การกระทำที่เกิดขึ้นต่อคนหรือสิ่งของ มารับผลการกระทำ
2. Intransitive Verbs หมายถึง การกระทำที่ไม่มีคนหรือสิ่งของมารับผลการกระทำ
 Transitive verbs หมายถึง กริยาที่มีกรรม (Object)มารองรับ
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “He’s reading a book.” (เขากำลังอ่านหนังสือ)
การกระทำ reading เกิดขึ้นกับ a book
เราเรียก a book ว่าเป็นกรรมตรงของกริยา หรือเรียกว่า Direct Object of the verb
• “The  people  watched the game from the bleachers.” (คนดูการแข่งขันจากอัฒจันทร์)
กริยา watched เกิดขึ้นกับ the game ดังนั้น the game จึงเป็นกรรมตรงของกริยา watched

Transitive verbs ยังมีกรรมที่รับผลทางอ้อม หรือ Indirect Object หรือ กรรมรอง
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I sent my brother a letter.”  (ฉันได้ส่งจดหมายให้พี่ชายของฉัน)
กรรตรงของกริยา sent คือ a letter (จดหมาย)
กรรมรองของกริยา sent คือ my brother (พี่ชายของฉัน)
my brother เป็นผู้รับจดหมาย ซึ่งเกิดจากการกระทำของกริยา sent เราเรียกว่า กรรมรอง
พูดง่าย ๆ ว่า ผู้ที่รับผลของกรรมตรงนั้น เราเรียกว่ากรรมรอง

■ Intransitive Verbs หมายถึง การกระทำของกริยาที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนหรือสิ่งใด
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “Don’t be too loud while the baby sleeps.” (อย่าส่งเสียงดังเกินไปขณะเด็กนอน)
กริยา sleeps (นอน) ไม่ได้มีผลต่อคนอื่นหรือสิ่งของ
เรารียก กริยา sleeps ว่าเป็น Transitive verbs

ดังนั้น การแบ่งประเภทของกริยาตามผลของกริยาจะมี 2 แบบ คือ มีกรรมมารองรับ และไม่มีกรรมมารองรับ นั่นเอง

3. การแบ่งกริยาตามรูปแบบการกระจาย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. Regular Verbs หมายถึง กริยาที่กระจายตามปกติ (โดยการเติม -d หรือ -ed)
2. Irregular Verbs หมายถึง กริยาที่กระจายผิดปกติ
ยกตัวอย่างการกระจายของ Regular Verbs
Base Form
“I play violin.”
“I bake cakes.”
“I listen to my teacher.”
“I gather firewood.”
“I climb trees.”
Past Simple Tense
“I played violin.”
“I baked cakes.”
“I listened to my teacher.”
“I gathered firewood.”
“I climbed trees.”
Past Participle
“I had played violin.”
“I had baked cakes.”
“I had listened to my teacher.”
“I had gathered firewood.”
“I had climbed trees.”
ยกตัวอย่างการกระจายของ Irregular Verbs
Base Form
“I see the horizon.”
“I grow bigger every day.”
“I give to charity.”
“I sing on Tuesday.”
“I swim often.”
“I drive to work.”
Past Simple Tense
“I saw the horizon.”
“I grew bigger every day.”
“I gave to charity.”
“I sang on Tuesday.”
“I swam often.”
“I drove to work.”
Past Participle
“I had seen the horizon.”
“I had grown bigger every day.”
“I had given to charity.”
“I had sung on Tuesday.”
“I had swum often.”
“I had driven to work.”
นอกจากนี้แล้วยยังมีกริยาที่เป็น Irregular Verbs นักศึกษาสามารถตรวจสอบได้จากพจนานุกรม

ตาราง 50 Irregular Verbs ที่ใช้บ่อย

ที่มา : 7esl.com


สำหรับกริยาที่มีการกระจายเฉพาะ เราเรียกว่า Highly Irregular Verb ได้แก่ กริยา be
รูป present tense คือ is, am, are
รูป past tense คือ was, were
รูป past  participle คือ been
รูป present participle  being

สำหรับโพสท์นี้ก็จะอยู่ในระดับพื้นฐาน เป็นการแยกประเภทของกริยา
แบ่งกริยาตามความสัมพันธ์กับประธาน
1. Finite Verbs
2. Non-Finite Verb
แบ่งกริยาตามผลของการกระทำ
1. Transitive Verbs
2. Intransitive Verbs
แบ่งกริยาตามรูปแบบการกระจาย
1. Regular Verbs
2. Irregular Verbs
3. Highly Irregular Verbs
โพสท์ต่อไปก็จะได้พูดถึงการแบ่งกริยา ในลักษณะอื่น ๆ อีก ตามลำดับครับ สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 11 ธ.ค. 2562