เมื่อ Relative Pronouns เป็น Objects Of Prepositions

การใช้ Relative Pronouns เป็นกรรมของบุพบท (Relative pronouns as objects of prepositions)

จากที่ผมได้อธิบายไว้ในโพสท์ที่ผ่านมาว่า Relative Pronouns สามารถเป็นประธาน เป็นกรรม เป็นเจ้าของ ในประโยคย่อยได้ ตอนนี้เราก็จะมีดูต่ออีกว่า Relative Pronouns จะทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบทอย่างไร

ในบางกรณี ได้นำ Relative Pronouns มาทำเป็นกรรมของบุพบท (Objects of Prepositions) หมายความว่า ให้ Relative Pronouns เป็นตัวเชื่อมกับบุพบท เพื่อขยายประธานหรือกริยาของ Relative Clause ซึ่งมี เพียง whose, which, และ whom เท่านั้นที่สามารถเป็นกรรมของบุพบทได้ ยกตัวอย่าง นักศึกษาอาจจะเคยเห็นในการเขียน ที่มีการวางคำบุพบทไว้หน้าคำสรรพนาม เช่น
  • with whom
  • to whom
  • for whom
  • through which
  • of which
  • about which
  • from which
  • at whose
  • in whose
  • with whose

ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่ มองว่า การใช้คำบุพบท (Prepositions) นำหน้าคำสรรพนามนั้น ถือว่าเป็นลักษณะที่เป็นทางการเกินไป (overly formal) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้  to whom  ดังนั้น ในปัจจุบันจึงนิยม วางบุพบทไว้หลังคำสรรพนาม

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีที่ 1
• “The teacher with whom I spoke had many interesting  things  to say.”
(ครู คนที่ฉันได้พูดด้วย มีสิ่งน่าสนใจมากมายที่อยากจะกล่าว)
ประโยคนี้ถือว่า เป็นทางการมาก (Very formal)

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีที่ 2
• “The teacher [whom/who/that] I spoke with had many interesting things to say.”
ประโยคนี้ ลดความเป็นทางการลงมาหน่อย โดยการแทน whom ด้วย who/that และย้าย with ให้อยู่ท้ายสุดของ relative clause

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีที่ 3
• “The teacher I spoke with had many interesting things to say.”
ประโยคนี้ถือว่าเป็นรูปทั่วไปที่นิยมกัน นักศึกษาจะพบว่า มีการละ Relative Pronouns แต่ก็ยังคง with ไว้ท้ายของ relative clause

กรณีวาง บุพบทไว้หลังคำสรรพนาม which
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีที่ 1 เป็นทางการมาก (Very formal)
• “The home in which I grew up holds many dear memories for me.”
(บ้านหลังนั้น ที่ฉันได้เติบโต เก็บความทรงจำที่มีค่ามากมายสำหรับฉัน)

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีที่ 2 เป็นทางการน้อยลง
• “The home that/which I grew up in holds many dear memories for me.”
กรณีนี้ เราจะนำ that มาแทน which ได้ และ ย้ายบุพบท in ไปอยู่ท้ายประโยคย่อย

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีที่ 3 ใช้กันโดยทั่วไป
• “The home I grew up in holds many dear memories for me.”
นึกศึกษาจะพบว่า มีการละ Relative Pronouns แต่ก็ยังคงบุพบท in ไว้ท้ายของ relative clause

การใช้ whose ก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ whose นั้น ไม่สามารถละหรือตัดออกได้
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีที่ 1 เป็นทางการมาก (Very formal)
• “My friend, in whose house I’m staying, invited me to see a movie with him.”
(เพื่อนของฉัน บ้านของเขาที่ฉันพักอยู่ ได้เชิญฉันไปดูหนังกับเขา)

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค กรณีที่ 2 เป็นทางการน้อยลง
• “My friend, whose house I’m staying in, invited me to see a movie with him.”
จะเห็นได้ว่า เราไม่สามารถละ whose ได้ แต่ย้าย in วางไว้ท้ายของ ประโยคย่อยได้

การใช้ when และ where เป็น Relative Pronouns

เราจะพบว่า มีการใช้ when และ where เป็น Relative Pronouns ในภาษาเขียนหรือภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการ โดยจะใช้ในกรณีที่เป็น restrictive relative clause เราจะใช้ when ขยายเวลา ส่วน where ใช้ขยายสถานที่
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “That’s the day when we met.”
(นั้นคือวัน ที่เราได้พบกัน)
when we met เป็นส่วนขยาย the day

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I’m looking forward to a time when the world will be at peace.”
(ฉันกำลังรอคอยเวลา คราวที่โลกจะอยู่ในความสงบ)
when the world will be at peace เป็นส่วนขยายของ time

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The café where we went on Sunday was very nice.”
(ร้านอาหารที่ฉันได้ไปเมื่อวันอาทิตย์ เยี่ยมมาก)
• “The town where she lives is only an hour away.”
(เมืองที่หล่อนอาศัย อยู่ไกลเพียง 1 ช.ม.(เดินทาง))

การใช้คำบุพบทสำหรับภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ (formal English)

ในการใช้ภาษาอังกฤษระดับที่เป็นทางการขึ้นอีกนั้น โดยทั่วไปเขาจะแทน when และ where ด้วย บุพบท + which เพื่อเป็นการชี้เฉพาะเกี่ยวกับสถานที่หรือเวลาให้มากยิ่งขึ้น

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “We preferred a part of the country where we could live in peace and quiet.”
(พวกเราชอบประเทศนั้น ที่ซึ่งเราจะอยู่ด้วยความเงียบและสงบ)
• “We preferred a part of the country in which we could live in peace and quiet .”
นักศึกษาพบว่า ประโยคหลัง แทน where ด้วย in which ซึ่งเป็นการใช้ภาษาที่เป็นทางการมากกว่า

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Ben is looking forward to the day when he can finally join the army.”
(เบ็นตั้งตาคอยถึงวัน วันที่เขาจะเข้าไปเป็นทหารในที่สุด)
• “Ben is looking forward to the day on which he can finally join the army.”
นักศึกษาพบว่า ประโยคหลัง แทน when ด้วย on which ซึ่งเป็นการใช้ภาษาที่เป็นทางการมากกว่า

ตัวอย่างข้อสอบ
Which of the following sentences is the least formal?
a) “The box I’d returned appeared on my doorstep again.”
b) “The box which I’d returned appeared on my doorstep again.”
c) “The box that I’d returned appeared on my doorstep again.”
d) “The box whom I’d returned appeared on my doorstep again.”
ตอบตัวเลือก a (ถ้านักศึกษายังตอบคำถามนี้ไม่ได้ ให้กลับไปอ่านใหม่อีกรอบครับ)

การใช้ Reciprocal Pronouns

นิยามของ Reciprocal Pronouns เราหมายถึง คำที่ใช้แทน คน 2 คน หรือมากกว่านั้น เป็นประธานของกริยาตัวเดียวกัน โดยทั้งคู่หรือทั้งหมด รับผลกริยาเหมือนกัน  โดย Reciprocal Pronouns จะทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยาเสมอ
ในภาษาอังกฤษนั้น มี Reciprocal Pronouns อยู่ 2 คำ คือ
1. each other
2. one another
ในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษสมัยเก่านั้น จะใช้ each other หมายถึงแค่คน 2 คน และ ใช้ one another หมายถึงคนมากกว่า 2 คน แต่ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่ เราสามารถใช้ each other กับ one another สลับกันได้

ระหว่าง Reciprocal Pronouns กับ Reflexive Pronouns

เนื่องจากว่า ประธานของประโยคและกรรมของกริยา เป็นบุคคลเดียวกัน ในทางตรรกะ เราน่าจะใช้ Reflexive Pronouns แทน Reciprocal Pronouns ได้

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
“We call ourselves every day.” (พวกเรา โทรศัพท์หาพวกเราเอง ทุกวัน)
ไม่สามารถใช้ได้เพราะว่า Reflexive Pronouns จะใช้การกระทำที่เป็นทางเดียว (“one-way” action)
ประโยค We call ourselves every day แปลว่า พวกเราแต่ละคนโทรหาตัวเขาเอง เช่น A โทรหา A หรือ B โทรหา B ทุกวัน เป็นต้น

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “We call each other every day.” หรือ
• “We call one another every day.”
(พวกเราโทรหาซึ่งกันและกันทุกวัน)
หมายความว่า A โทรหา B และ B ก็โทรหา A ทุกวัน เป็นการกระทำ 2 ทาง(“two-way” action)
ดังนั้น Reciprocal Pronouns ใช้ในกรณีที่ต่างฝ่ายต่างตอบโต้ซึ่งกันและกันในลักษณะที่เป็นอิสระต่อกัน

การใช้ each other กับ one another

ตามที่ผมกล่าวมาว่า ทั้ง 2 คำนี้ มีความหมายเดียวกัน คือ แต่ละคนซึ่งกันและกัน และให้เข้าใจว่า คำว่า each other ไม่ได้หมายความว่าใช้ได้กับคนแค่ 2 คนเท่านั้น สามารถใช้แทนหลายคนได้
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
•“They love each other.” (พวกเขารักซึ่งกันและกัน)
จะเห็นได้ว่า เราใช้ each other แทนมากกว่า 2 คน แม้ว่าอาจจะมีบางตำราระบุว่า each other จำกัดแค่ 2 คนเท่านั้น ซึ่งความเห็นนั้น ยังไม่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ทางภาษาศาสตร์ยืนยัน ดังนั้น จึงสรุปว่า  each other กับ one another มีความหมายเหมือนกันครับ

การใช้ each other’s กับ one another’s

หากเราต้องการให้ Reciprocal Pronouns แสดงเจ้าของ สามารถทำได้โดยใส่ "’s" เราไม่สามารถเติม -s ต่อท้ายให้เป็นรูปพหูพจน์ได้ เนื่องจากเป็นการกระทำแต่ละคนภายในกลุ่ม
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “My neighbor and I spent a lot of time at each other’s houses when we were kids.”
(ฉันและเพื่อนบ้านของฉัน ใช้เวลามากที่บ้านของซึ่งกันและกัน เมื่อพวกเราเป็นเด็ก)

สำหรับโพสท์นี้จะค้างไว้ก่อนแค่นี้ครับ หัวข้อถัดไป คือ Dummy Pronouns จะเป็นข้อสุดท้ายของ Pronouns หลังจากจบ Pronouns ผมก็จะขึ้นหัวข้อกริยา (Verbs) เป็นลำดับต่อไปครับ สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 11 ธ.ค. 2562