ตอนที่แล้ว ผมยกตัวอย่างการทำหน้าที่ของ Relative Pronouns มีฐานะเป็นประธานของอนุประโยค หัวข้อต่อไปก็จะพูดถึง การทำหน้าที่อื่น ๆ เป็นลำดับต่อไปครับ
2. การทำหน้าที่ของคำ Relative Pronouns กรณีเป็นกรรม(Object)
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค• “I don’t know if I passed the test that I took yesterday.”
(ฉันไม่รู้ว่า ฉันจะผ่านการทดสอบ ที่ได้สอบเมื่อวานหรือไม่)
กรณีนี้ อนุประโยค คือ that I took yesterday
สำหรับ that เป็นกรรมของอนุประโยค และเป็นส่วนขยายของคำนาม คือ the test นั่นเอง
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The new employee whom I hired is a dedicated worker.”
(ลูกจ้างคนใหม่ผู้ซึ่งฉันได้จ้าง เป็นคนทำงานอย่างทุ่มเท)
กรณีนี้ อนุประโยค คือ whom I hired
ส่วน whom ทำหน้าที่เป็น กรรมของอนุประโยค
สำหรับอนุประโยค เป็นส่วนขยายของ The new employee
3. การทำหน้าที่ของคำ Relative Pronouns กรณีเป็นการแสดงเจ้าของ (Possession)
เราจะพบว่ามีเพียง whose เท่านั้น ที่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้ โดยจะวางไว้หน้าคำนามที่ขยายโปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “She tried to help the student whose lunch money had been stolen.”
(หล่อนพยายามช่วยเหลือนักเรียน ผู้ที่เงินสำหรับอาหารกลางวันของเขาถูกขโมยไป)
อนุประโยค คือ whose lunch money had been stolen
กรณีนี้ whose การแสดงเจ้าของ lunch money
และอนุประโยคเป็นส่วนขยายของคำนาม คือ the student
Relative Pronouns โดยส่วนใหญ่สามารถทำได้หลายหน้าที่และการนำไปใช้ ความหมายก็จะขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำไปแทน
ตาราง สรุปการแทนด้วย Relative Pronouns ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
สามารถใช้
|
เป็นประธาน
|
เป็นกรรม
|
เป็นเจ้าของ
|
ขยายสิ่งของ
|
ขยายคน
|
---|---|---|---|---|---|
who
|
✔
|
✔(informal)
|
✖
|
✖
|
✔
|
whom
|
✖
|
✔(formal)
|
✖
|
✖
|
✔
|
whose
|
✖
|
✖
|
✔
|
✔
|
✔
|
which
|
✔
|
✔
|
✖
|
✔
|
✖
|
that
|
✔
|
✔
|
✖
|
✔
|
✔
|
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้แทน
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The woman [who/that] came to my house was a salesperson.”
เราสามาถใช้ who/that แทนกันได้ สำหรับขยายคน
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The new employee [whom/who/that*] I hired is a dedicated worker.”
เราสามาถใช้ whom/who/that* แทนกันได้ เมื่อทำหน้าที่เป็นกรรม
และถือเป็น restrictive relative clause
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The mailman, [whom/who*] my father knew in high school, is running for the state senate.”
เราใช้ whom แทน who เป็นกรรม ในกรณีที่เป็น non-restrictive relative clause
• “I want a computer [that/which*] can download a lot of games.”
สามารถใช้ that/which เพื่อขยายสิ่งของได้ทั้งคู่
หมายเหตุจากตาราง 1
เดิมทีนั้นเราจะใช้ whom เมื่อทำหน้าที่เป็นกรรมของ relative clause ได้เท่านั้น แต่ปัจจุบัน สามารถใช้ who แทนเป็นส่วนใหญ่ ส่วน whom นั้นมักจะใช้ในกรณีที่เป็นทางการมาก ๆ
หมายเหตุจากตาราง 2
โดยทั่วไปนิยมใช้ that มากกว่า which อย่างไรก็ตาม มีการใช้ which แทน that ในการเขียนที่ไม่เป็นทางการ
กรณีที่ไม่สามารถใช้แทนกันได้
• “The male birds danced and sang, which attracted nearby females.”
กรณีนี้เราไม่สามารถนำคำอื่นมาแทน which ได้ เนื่องจาก which เป็นประธานของอนุประโยค ชนิด non-restrictive relative clause ขยายสิ่งของ ในที่นี้ คือ dancing and singing
• “She tried to help the student whose lunch money had been stolen.”
กรณีนี้ก็เช่นกัน เราไม่สามารถใช้คำอื่นมาแทน whose ได้ ไม่ว่าจะเป็นการขยายคนหรือสิ่งของ
ความแตกต่างระหว่าง restrictive relative clauses กับ non-restrictive relative clause
ในการศึกษาไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เราจะพบวลี หรือศัพท์เฉพาะมากมาย บางครั้งเราก็ไม่อยากอ่านต่อ เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไรกัน ผมเองก็จะพยายามอธิบายให้เข้าใจเป็นภาษาไทยให้ง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ และพยามยกตัวอย่างประกอบการทำความเข้าใจ แต่คำศัพท์หรือนิยามศัพท์ทางไวยากรณ์นั้น เราก็จำเป็นต้องจำไว้บ้าง แม้ในตำราภาษาไทยก็เช่นกัน ยกตัวอย่าง คำว่า Relative Pronouns ในตำราภาษาไทยจะเรียกว่า ประพันธสรรพนาม นักศึกษาบางคนก็ไม่รู้จักอีกว่า ประพันธสรรพนาม มันคืออะไรอีกทบทวนกันอีกนิดนะครับว่า Relative Clauses จริง ๆ มันคือ อนุประโยค(ประโยคย่อย) ส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งเป็นคำนามของประโยคหลัก เข้าใจตรงกันนะครับ และใน Relative Clauses นั้นจะมีคำสรรพนามนำหน้าอยู่ และคำสรรพนามที่อยู่หน้า Relative Clauses นั้น เราเรียกว่า Relative Pronouns และ Relative Pronouns ทำหน้าที่ได้หลายแบบในอนุประโยค เช่น ทำหน้าที่เป็นประธาน เป็นกรรม เป็นการแสดงเจ้าของ ส่วนเราจะเลือกใช้ Relative Pronouns คำไหนนั้น มันขึ้นอยู่กับว่า มันไปขยายคำนามชนิดไหน เช่น เป็นคน หรือ สิ่งของ ประการสุดท้าย คือ relative clauses เขาเรียกอีกแบบหนึ่งว่า Adjective Clause (อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์) พอเข้าใจกันไหมครับ
เรื่องต่อมาก็คือ Relative Clauses แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. Restrictive relative clauses (ส่วนขยายที่จำเป็นต้องมี)
2. Non-restrictive relative clause (ส่วนขยายที่จะมีหรือไม่มีก็ได้)
Restrictive relative clause
บางตำราก็เรียกว่า Defining relative clause หมายถึง ส่วนขยายหรือข้อมูลที่มีความจำเป็น ถ้าไม่มีส่วนนี้จะทำให้ความหมายของประโยครวมไม่ชัดเจนหรือไม่สมบูรณ์นั่นเองครับ โดยเราจะสังเกตได้ว่า Restrictive relative clause จะไม่มีเครื่องหมายคอมม่า(,) ในประโยคโปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคนี้
• “I’ve never understood people who hate sports.”
(ฉันไม่เคยเข้าใจคน ผู้ซึ่งเกลียดกีฬา)
ประโยคหลัก (Main Clause) คือ I’ve never understood people (ฉันไม่เคยเข้าใจคน)
ประโยคย่อย (Relative Clause) คือ who hate sports (ผู้ซึ่งเกลียดกีฬา)
ถ้าเราพูดว่า "ฉันไม่เคยเข้าใจคน" ผู้ฟังก็จะไม่รู้เรื่อง ว่าคุณหมายถึงคนแบบไหน
เมื่อเราเพิ่มส่วนขยายไปอีก ว่า "คนที่เกลียดกีฬา" ความหมายก็จะสมบูรณ์ขึ้นและรู้เรื่องทันที
ดังนั้น who hate sports จึงเป็น Restrictive relative clause ครับ
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคนี้
• “That book that I read when I was young is being made into a movie.”
(หนังสือเล่มนั้น ที่ฉันได้อ่านเมื่อฉันเป็นวัยรุ่น จะนำไปสร้างเป็นภาพยนต์)
ประโยคหลัก (Main Clause) คือ “That book is being made into a movie.” (หนังสือเล่มนั้นจะนำไปสร้างเป็นภาพยนต์) ถือว่าเป็นข้อความที่ไม่ระบุชัดเจนลงไปว่าเป็นหนังสือเล่มไหน
ประโยคย่อย ((Relative Clause) คือ that I read when I was young (ที่ฉันได้อ่านเมื่อฉันเป็นวัยรุ่น)
ประโยคย่อยที่ทำให้ประโยคหลักมีใจความสมบูรณ์เราเรียกว่า Restrictive relative clause ครับ
Non-restrictive relative clause
หมายถึง ส่วนขยายที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนที่จำเป็น หากไม่มีส่วนนี้ ก็ไม่ทำให้ประโยคหลักขาดความสมบูรณ์ หมายความว่า ไม่มีก็ไม่เห็นไร เราจะสังเกตว่า Non-restrictive relative clause จะมีเครื่องหมายคอมม่า(,) ในประโยคโปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคนี้
• “The song, which was his favorite, could be heard from miles away.”
ประโยคหลัก (Main Clause) คือ The song could be heard from miles away.
(เพลงนั้นสามารถได้ยินไปไกลหลายไมล์)
ประโยคย่อย ((Relative Clause) คือ which was his favorite (อันเป็นที่ชื่นชอบของเขา)
กรณีนี้ ถ้าเราตัดประโยคย่อยออกไป ประโยคหลักก็ยังคงมีใจความสมบูรณ์
ดังนนั้น which was his favorite จึงถือว่าเป็น Non-restrictive relative clause
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยคนี้
• “My friend, Tom, whom I haven’t seen in years, is coming to stay with us tomorrow.”
(ทอม เพื่อนของฉัน ผู้ซึ่งฉันไม่ได้พบมาหลายปี จะมาพักกับเราในวันพรุ่งนี้)
ประโยคหลัก (Main Clause) คือ “My friend, Tom, is coming to stay with us tomorrow.”
(เพื่อนของฉันชื่อทอม จะมาพักกับเราในวันพรุ่งนี้)
ประโยคย่อย ((Relative Clause) คือ whom I haven’t seen in years
(ผู้ซึ่งฉันไม่ได้พบเขามาหลายปี)
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน เราเรียกประโยคย่อยว่า Non-restrictive relative clause นั่นเอง
สำหรับโพสท์นี้จะค้างไว้ก่อนแค่นี้ครับ หัวข้อถัดไป คือ การละ relative pronouns ไว้ในฐานะเข้าใจ หรือเราเรียกว่า Omitting relative pronouns ผิดพลาดประการใด ขออภัยครับ สวัสดีครับ
เรียบเรียงโดย
- ติวเตอร์แบงค์
- สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
- ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
- ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
- Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
- Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
- Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
- Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
0 ความคิดเห็น