ในการศึกษาไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเจาะลึกนั้น นักศึกษาจะพบว่า มีคำสรรพนาม ที่ใช้ในภาษาอังกฤษจำนวนมาก และลักษณะการใช้ก็ไม่เหมือนภาษาไทย การใช้คำสรรพนามในภาษาอังกฤษเพื่อลดหรือหลีกเลี่ยงการกล่าวคำนามซ้ำ เพื่อทำให้การพูดและการเขียนดูกระชับ ประหยัดเวลาในการเขียน สำหรับตอนที่แล้ว ผมค้างไว้ที่ คำสรรพนามบ่งชี้เฉพาะ (Demonstrative Pronouns) หัวข้อที่จะกล่าวต่อไปมีดังต่อไปนี้ครับ

คำสรรพนามในประโยคคำถาม (Interrogative Pronouns)

นิยาม
Interrogative Pronouns คือ คำสรรพนามที่ใช้ในประโยคคำถาม โดยทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นประธาน หรือ กรรมในประโยค

คำสรรพนามในประโยคคำถาม (Interrogative Pronouns) ที่สำคัญ 5 คำ คือ
• who
• whom
• whose
• which
• what
แต่ก็ยังมี Interrogative Pronouns อื่นอีกด้วย ซึ่งใช้เพื่อจุดประสงค์ที่เน้นเฉพาะ โดยจะว่าในส่วนท้าย ๆ

การใช้ Interrogative Pronouns ในคำถามโดยตรง (Direct Questions) 

โดยส่วนใหญ่เราใช้ Interrogative Pronouns ในคำถามโดยตรง เพื่อต้องการแทนบุคคลหรือสิ่งของที่ถูกถามถึง โดยปกติแล้วเราจะวาง Interrogative Pronouns ไว้ต้นประโยค หรืออนุประโยค ซึ่งจะทำหน้าที่ เป็นประธานหรือกรรมในประโยคก็ได้

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Who is coming to the party tonight?” (Who ทำหน้าที่เป็นประธาน - Subject)
(ใครจะมางานปาร์ตี้ในคืนนี้?)
• “Whom did you ask to fill in for Mr. Smith?” (Whom ทำหน้าที่เป็นกรรม - Object)*
(คุณได้ขอให้ใครทำแทน นายสมิธ?)
• “Whose is this computer?” (Who ทำหน้าที่เป็นประธาน - Subject)
(คอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นของใคร?)
• “So, which will it be: $10,000 or a new sports car?” (which ทำหน้าที่เป็นกรรม - Object)
(แล้ว มันจะเป็นอันไหน 10000 เหรียญ หรือ รถสปอร์ตคันใหม่?)
• “What do you expect me to do, exactly?” (What ทำหน้าที่เป็นกรรม - Object)
(จริง ๆ แล้ว คุณคาดหวังที่จะทำอะไรกับฉัน?)
สำหรับ Whom* ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่มีการใช้น้อยลง โดยทั่วไปจะใช้ who มากกว่า

ในทางตรงข้ามยังมีคำถามอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ (Adverbs)
• “How did you find me?” (How ขยายกริยา find)
(คุณพบฉันได้อย่างไร?)
• “When are we leaving?” (When ขยายกริยา leaving)
(พวเราจะออกเดินทางเมื่อไร?)
• “Why did we stay?” (Why ขยายกริยา stay)
(พวกเราพักอยู่ทำไม?)

การใช้ Interrogative Pronouns ในคำถามโดยอ้อม (Indirect Questions)

Interrogative Pronouns ที่เป็นคำถามโดยอ้อม (Indirect Questions) นั้น จะอยู่กลางประโยค ใช้ในกรณีการตั้งคำถามเพื่อความสุภาพขึ้น
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Could you tell me whose these are?”
(คุณช่วยบอกฉันหน่อยได้ไหมว่าเหล่านี้เป็นของใคร?)
• “Would you mind telling me which I’m supposed to bring?”
(รบกวนคุณบอกฉันหน่อยว่า อันไหนฉันควรจะนำมา?)
• “Do you know what we’re doing here?”
(คุณพอรู้ไหมว่า พวกเรากำลังทำอะไรอยู่ที่นี่?)
บางครั้งเราใช้ Indirect Questions เพื่อต้องการเน้นย้ำทำให้ประหลาดใจ
• “She wants who to come to the party?”
(หล่อนต้องการให้ใครที่จะมาในงานปาร์ตี้ไหม?)
• “You’re going to do what in New York City?”
(คุณจะทำอะไรในกรุงนิวยอร์คไหม?)
• “He’s going to ask whom out on a date?”*
(เขาจะชวนใครในวันออกเดท?)

การใช้ Interrogative Pronouns เป็นคำถามบอกเล่า (Reported Questions)

เป็นการใช้ Interrogative Pronouns แต่เป็นประโยคบอกเล่า ซึ่งในกรณีนี้ผู้พูดไม่ได้กำลังตั้งคำถามจริง ๆ เพียงแต่เป็นการบอกหรือแจ้งคำถามที่ได้มีการถามมาเรียกร้อยแล้ว เรามักจะเรียกโครงสร้างของประโยคดังกล่าวว่า Reported Speech หรือ  Indirect Speech ครับ

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “She wants to know whose these are.”
(หล่อนต้องการรู้ว่าเหล่านี้เป็นของใคร)
• “He wondered which is correct.”
(เขาสงสัยว่าข้อไหนถูก)
• “I asked you what we were supposed to do today.”
(ฉันถามคุณว่าอะไรที่พวกเราควรจะทำวันนี้)
• “She was wondering who would be coming tomorrow.”
(หล่อนสงสัยว่าใครจะมาในวันพรุ้งนี้)
• “They asked whom to consult in the matter.”
(พวกเขาถามว่าจะปรึกษาเรื่องนั้นกับใคร)

การใช้ Interrogative Pronouns ในรูปแบบอื่น ๆ

ในทางเทคนิคแล้วยังมี Interrogative Pronouns อื่น ๆ ที่เห็นกันอยู่ 7 คำ ได้แก่
• whoever
• whomever
• whichever
• whatever
• whatsoever
• whosoever
• whomsoever
คำเหล่านี้มักนิยมใช้เพื่อจุดประสงค์ที่เฉพาะ และใช้เป็นภาษาทางการมาก หรือในภาษาอังกฤษสมัยเก่า
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Whoever would believe such a story?”
(ผู้หนึ่งผู้ใดจะเชื่อเรื่องเช่นนั้น?)
• “Whatever could I have done to make you so angry?”
(ฉันอาจจะได้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำให้คุณโกรธมากบ้าง?)
• “Whichever will the gentleman choose, I wonder?
(ท่านสุภาพบุรุษจะเลือกอันหนึ่งอันไหน ฉันสงสัย?)

การใช้ Interrogative Pronouns ทำหน้าที่เป็น Interrogative Adjectives

ยังมี Interrogative Pronouns 3 ชนิด คือ whose, which, และ what ที่สามารถทำหน้าที่เป็น Interrogative Adjectives ได้อีก 

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค ต่อไปนี้
• “What book is your favorite?”
(หนังสือเกี่ยวกับอะไรเป็นที่ชื่นชอบของคุณ?)
ประโยคนี้เราจะพบว่า คำว่า What ตามด้วยคำนาม book แสดงว่ากรณีนี้ what เป็นส่วนขยาย ดังนั้น เราจะรู้ทันทีว่า กรณีนี้ what เป็นคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Adjective)

• “What are you reading?”
(คุณกำลังอ่านหนังสืออะไร?)
กรณีนี้ what ไม่ตามด้วยคำนาม แสดงว่า what เป็น สรรพนามสำหรับคำถาม (Interrogative Pronouns)

• “Which shirt should I wear?” 
(ฉันควรใส่เสื้อตัวไหน?)
กรณีนี้ Which เป็น คุณศัพท์สำหรับคำถาม (Interrogative Adjective)

• “Which would you choose if you were me?”
(ฉันควรเลือกอันไหน ถ้าคุณเป็นฉัน?)
สำหรับกรณีนี้ Which เป็น สรรพนามสำหรับคำถาม (Interrogative Pronoun)

• “Whose book is this on the table?”
(นี้เป็นหนังสือของใครที่วางอยู่บนโต๊ะ?)
สำหรับกรณีนี้ Whose เป็นคุณศัพท์สำหรับคำถาม (Interrogative Adjective)

• “Whose is this that I’m holding?” 
(นี้ที่ฉันกำลังถืออยู่เป็นของใคร?)
สำหรับกรณีนี้ Whose เป็นสรรพนามสำหรับคำถาม (Interrogative Pronoun)

จากตัวอย่างทั้งหมดที่ผมยกมา เราสามารถเห็นชัดเจนว่า
Interrogative Pronouns จะตามด้วยคำกริยา
Interrogative Adjectives จะตามด้วยคำนาม

สำหรับโพสท์นี้ คงมีเพียงแค่นี้ หัวข้อถัดไป ผมจะขึ้นหัวข้อสำคัญ คือ Relative Pronouns เป็นหัวข้อต่อไป ผิดพลาดประการใด ถ้ามีจุดไหนผมจะเข้ามาแก้ไขอีกทีครับ สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 8 ธ.ค. 2562